หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
กรอบการวัดและประเมินผล
1. การวัดและประเมินผลรายวิชา
2. การประเมินคุณธรรม
3. การประเมินกิจกรรม กพช.
4. การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคืออะไร
กิจกรรม พัฒนาคุณภาพชีวิต หรือ กพช. หมายถึง กิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุน ให้นักศึกษาเป็นผู้รู้จักคิด รู้จักทำ เป็นผู้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น โดยนักศึกษาสามารถเลือกทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามความสนใจ หรือความถนัด เน้นการนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถี ชีวิต เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในแต่ละระดับการศึกษาจะต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตรวมแล้วไม่น้อย กว่า 200 ชั่วโมง โดยมีขอบข่ายเนื้อหาทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
ปรับเกฑ์การวัดและการประเมินผลและการกำหนดระยะเวลาในการมีสิทธิ์เข้าสอบปลายภาคเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ขอให้นักศึกษาทุกท่านอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตาม
หากมีข้อสงสัย สอบถามมาได้ที่ (+47) 99 85 32 86
หรือที่อีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
การจัดการศึกษาแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน (2 ปีการศึกษา) ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียนทั้งนี้ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนอยู่ในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
ในการสมัครเป็นนักศึกษา กศน. ทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติของนักศึกษา ดังนี้
1. ระดับประถมศึกษา
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
1.มีสัญชาติไทยหรือมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานวันเดือนปีเกิดในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าสถานศึกษา พ.ศ.2535
2.สอบได้วุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
2.1 ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6)
2.2 ประโยคประถมศึกษาตอนต้น (ป.7)
2.3 การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ 3
2.4 หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญระดับประถมศึกษา
2.5 วุฒิอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เทียบเท่าระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรประถมศึกษา พศ.2521
2.6 ใบรับรองวุฒิการสอบเทียบความรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อสิทธิบางอย่าง
2.7 ใบรับรองวุฒิการสอบเทียบความรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 เพื่อสิทธิบางอย่าง
2.8 เคยศึกษาหลักสูตรต่างประเทศ ระดับชั้น(เกรด) การศึกษาอย่างน้อยปีที่ 7
2.9 สอบได้ระดับชั้น(เกรด) การศึกษาอย่างน้อยปีที่ 7
2.10 ผู้สอบตกชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
สำหรับพระภิกษุ สามเณรที่จะสมัครเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้เป็นไปตามที่มหาเถรสมาคมกำหนด
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1.มีสัญชาติไทยหรือมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานวันเดือนปีเกิด ในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าสถานศึกษา พ.ศ. 2535
2.สอบได้วุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
2.1 ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.3)
2.2 มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3)
2.3 การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับ 4
2.4 จบการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2.5 เปรียญธรรม 3 ประโยค
2.6 วุฒิอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521
2.7 เคยศึกษาหลักสูตรต่างประเทศ ระดับชั้น (เกรด) การศึกษาปีที่ 10 หรือสอบได้ระดับชั้น (เกรด) การศึกษาอย่างน้อยปีที่ 10
สำหรับพระภิกษุ สามเณรที่จะสมัครเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้เป็นไปตามที่มหาเถรสมาคมกำหนด
1. ใบสมัครการเป็นนักศึกษา
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
4. หนังสือสำคัญแสดงวุฒิการศึกษาตัวจริงพร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
5. รูปถ่ายขนาด 1นิ้ว จำนวน 3 รูป ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
6. สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ-สกุล/ทะเบียนสมรส ฯลฯ(ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
7. เอกสารสำเนาทุกฉบับต้องรับรองสำเนาถูกต้อง